เมนู

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า หม้อทั้งหมด ไม่เป็นฐานแห่งภัณฑะที่ตั้งอยู่
ภายในหม้อฉันใด, คำแห่งสังเขปอรรถกถาเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น
เพราะบาลีว่า ภิกษุทำให้ทรัพย์เขาไปในภาชนะของตนก็ดี ตัดกำเอาก็ดี ดัง
นี้แล.

[

อรรถาธิบายภิกษุลักดูดเอาเนยใสเป็นต้นเป็นปาราชิก

]
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุดื่มของที่เป็นน้ำอย่างใด
อย่างหนึ่งมีเนยใสเป็นต้นเมื่อเนยใสเป็นต้นนั้น มาตรว่าเธอดื่มแล้วด้วยประโยค
อันเดียวก็เป็นปาราชิก. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย มีมหาปัจจรีเป็นต้น ท่าน
แสดงวิภาคนี้ไว้ว่า เมื่อภิกษุดื่มไม่ชักปากออก และเนยใสเป็นต้นที่เข้าไปใน
ลำคอ ยังไม่ได้บาท รวมกับที่อยู่ในปาก จึงได้บาท, ยังรักษาอยู่ก่อน. แต่
ในเวลาที่เนยใสเป็นต้น ขาดตอนเพียงคอนั่นเอง ย่อมเป็นปาราชิก. ถ้าแม้
ภิกษุกำหนดตัดด้วยริมฝีปากทั้งสองข้างหุบปาก ก็ต้องปาราชิกเหมือนกัน.
แม้เมื่อดื่มด้วยก้านอุบลหลอดไม้ไผ่และหลอดอ้อเป็นต้น และถ้าที่อยู่ในลำคอ
นั่นแลได้ราคาบาทหนึ่ง เป็นปาราชิก. ถ้ารวมกับที่อยู่ในปาก จึงได้บาทหนึ่ง,
เมื่อเนยใสเป็นต้นนั้น สักว่าภิกษุกำหนดตัดด้วยริมฝีปากทั้งสองข้าง ให้ความ
เนื่องเป็นอันเดียวกันกับที่อยู่ในก้านอุบลเป็นต้น ขาดตอนกัน เป็นปาราชิก.
ถ้ารวมกับที่อยู่ในก้านอุบลเป็นต้น จึงได้ราคาบาทหนึ่ง เป็นปาราชิก ในเมื่อ
มาตรว่าภิกษุเอานิ้วมืออุดก้นแห่งก้านอุบลเป็นต้นเสีย. แต่เมื่อเนยใสเป็นต้น
ซึ่งมีราคาได้บาทหนึ่ง ยังไม่ไหลเข้าไปในลำคอ ทั้งในก้านอุบลเป็นต้น ทั้ง
ในปาก แม้มีค่าเกินกว่าบาทหนึ่ง แต่เป็นของเนื่องเป็นอันเดียวกันตั้งอยู่, ยัง
รักษาอยู่ก่อนแล. คำแม้ทั้งหมด ที่กล่าวในมหาปัจจรีเป็นต้นนั้น ย่อมสมนัยนี้
ว่า ภิกษุทำให้ทรัพย์เข้าไปในภาชนะของตนก็ดี ตัดกำเอาก็ดี ดังนี้; เพราะเหตุ

นั้น (คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามีมหาปัจจรีเป็นต้นนั้น) เป็นอันท่านแสดง
ไว้ชอบแล้วแล. ในภัณฑะที่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันได้มีนัยเท่านี้ก่อน.
ก็ถ้าภิกษุเอามือก็ดี บาตรก็ดี ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีถาดเป็นต้น
ก็ดี ตักดื่ม, เนยใสเป็นต้นจะครบราคาบาทหนึ่งในประโยคใด, เมื่อทำประ-
โยคนั้นแล้ว ต้องปาราชิก. ถ้าเนยใสเป็นต้น เป็นของมีราคามาก ทั้งเป็น
ของที่อาจถือเอาได้ราคาบาทหนึ่ง ด้วยเพียงประโยคเดียวแล แม้ด้วยช้อน
ในเมื่อยกขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น เป็นปาราชิก.
อนึ่ง เมื่อภิกษุกดภาชนะให้จมลงแล้วตักเอา, เนยใสเป็นต้นนั้นยัง
เนื่องเป็นอันเดียวกันเพียงใด, ยังรักษาอยู่เพียงนั้น เป็นปาราชิก ด้วยการ
ขาดเด็ดแห่งขอบปาก หรือด้วยการยกขึ้น. ก็เนยใสหรือน้ำมัน หรือน้ำผึ้ง
และน้ำอ้อยที่ใส เช่นกับน้ำนั่นแล ภิกษุเอียงหม้อให้ไหลเข้าภาชนะของตน
เมื่อใด, เมื่อนั้น ความเนื่องเป็นอันเดียวกันย่อมไม่มี เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านั้น
เป็นของใส ; เพราะฉะนั้น เมื่อเนยใสเป็นต้นซึ่งได้ราคาบาทหนึ่ง สักว่าไหล
ออกจากขอบปาก เป็นปาราชิก. ส่วนน้ำผึ้งและน้ำอ้อยที่เขาเคี่ยวตั้งไว้ เหนียว
คล้ายยาง เป็นของควรชักไปมาได้, เมื่อความรังเกียจเกิดขึ้น ภิกษุอาจนำกลับ
คืนมาได้ เพราะเป็นของติดกันเป็นอันเดียวนั่นเอง. น้ำผึ้งและน้ำอ้อยชนิดนั้น
แม้ออกจากขอบปากเข้าไปในภาชนะแล้ว ก็ชื่อว่ายังรักษาอยู่ เพราะเป็นของ
ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับส่วนข้างนอก แต่พอเมื่อสักว่าขาดจากขอบปากแล้ว
จึงเป็นปาราชิก. แม้ภิกษุใด ใส่ผ้าเนื้อหนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะดื่มเนยใส
หรือน้ำมันได้ราคาบาทหนึ่งอย่างแน่นอน ลงในหม้อของผู้อื่นด้วยไถยจิต พอ
หลุดจากมือ ภิกษุนั้นก็ต้องปาราชิก.

ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุรู้ว่า บัดนี้ เขาจักใส่น้ำมัน
มีไถยจิตใส่ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่งลงในหม้อเปล่า, ถ้าภัณฑะนั้นจะดื่มได้ราคา
5 มาสก ในเมื่อน้ำมันเขาใส่หม้อนั้นแล้ว เมื่อภัณฑะนั้นสักว่าดื่มน้ำมันนั้น
แล้ว เป็นปาราชิก. แต่คำนั้นย่อมแย้งกับคำวินิจฉัยว่าด้วยการทำรางแห้งให้
ตรงในบึงที่แห้ง ในมหาอรรถกถานั้นนั่นเอง, จริงอยู่ ลักษณะแห่งอวหารใน
คำนี้ ไม่ปรากฏ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเชื่อถือ. ส่วนในอรรถกถามหา-
ปัจจรีเป็นต้น ท่านปรับเป็นปาราชิก ในเมื่อยกภัณฑะนั้นขึ้น. คำนั้นใช้ได้.
ภิกษุวางภัณฑะมีหนังเป็นต้น ในหม้อเปล่าของผู้อื่น เพื่อต้องการจะเก็บซ่อน
ไว้ เมื่อเขาใส่น้ำมันลงในหม้อนั้นแล้ว (เธอ) กลัวว่า ถ้าผู้นี้จักทราบ เขา
จักจับเรา จึงยกภัณฑะที่ดื่มน้ำมันไว้แล้วได้ราคาบาทหนึ่งขึ้น ด้วยไถยจิต
ต้องปาราชิก ยกขึ้นด้วยจิตบริสุทธิ์ เมื่อผู้อื่นเอาไปเสีย เป็นภัณฑไทย.
อธิบายว่า สิ่งของใดของผู้อื่นหายไป, ต้องใช้ราคาสิ่งของนั้น หรือใช้สิ่งของ
นั้นนั่นเอง; ชื่อว่าภัณฑไทย. ถ้าไม่ใช้ให้ต้องปาราชิกในเมื่อเจ้าของทอดธุระ.
แต่ถ้าผู้อื่นใส่เนยใสหรือน้ำมันลงในหม้อของภิกษุนั้น, ภิกษุผู้เจ้าของหม้อนี้ก็
ใส่ภัณฑะที่จะดื่มน้ำมันได้ลงแม้ในหม้อนั้น ด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก ตาม
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ภิกษุรู้ว่าเนยใสหรือน้ำมันที่ผู้อื่นใส่ไว้ในหม้อเปล่าของ
ตน จึงใส่ภัณฑะลงไปด้วยไถยจิต เป็นปาราชิกขณะที่ยกขึ้น ตามนัยก่อน
เหมือนกัน. มีจิตบริสุทธิ์ใส่ลงไป ภายหลังจึงยกขึ้นด้วยไถยจิต เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. มีจิตบริสุทธิ์แท้ ยกขึ้นไม่เป็นอวหาร ไม่เป็นสินใช้. แต่ในมหา-
ปัจจรี กล่าวไว้แต่เพียงอาบัติเท่านั้น. ในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ
เคืองขัดใจว่า ท่านใส่น้ำมันลงในหม้อของเราทำไม ดังนี้แล้ว ยกภัณฑะขึ้น
เททิ้งเสีย ไม่เป็นภัณฑไทย. ภิกษุใคร่จะให้น้ำมันไหล จึงจับที่ขอบปากเอียง

หม้อด้วยไถยจิต เมื่อน้ำมันไหลไปได้ราคาถึงบาทต้องปาราชิก. ภิกษุมีไถยจิต-
จิตแท้ ทำหม้อไห้ร้าวด้วยคิดว่า น้ำมันจะไหลไปเสีย เมื่อน้ำมันไหลไปได้
ราคาถึงบาท ต้องปาราชิก. ภิกษุมีไถยจิตนั้นแล กระทำหม้อไห้เป็นช่องทะลุ
คว่ำหลายหรือตะแคง. ก็แลคำนี้เป็นฐานแห่งความฉงน, เพราะฉะนั้น ควร
สังเกตให้ดี.
ก็ในคำว่า คว่ำ เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้: ช่องปากลงข้างล่าง
ชื่อว่า คว่ำ. ช่องปากขึ้นข้างบน ชื่อว่า หงาย. ช่องปากไปตรง ๆ เหมือน
กระบวยชื่อว่า ตะแคง. บรรดาการทำคว่ำเป็นต้นนั้น เมื่อน้ำมันได้ราคาถึงบาท
ไหลออกจากภายในช่องที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งตนทำไว้จำเดิมแต่ภายนอก ถึงจะไม่
ไหลออกไปภายนอก ก็เป็นปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า น้ำมัน
พอไหลออกไปจากภายในนั้นเท่านั้น ก็ชื่อว่าไหลออกไปภายนอก จะนับว่าอยู่
ภายในหม้อไม่ได้ คือไม่ตั้งอยู่ในหม้อ. เมื่อน้ำมันได้ราคาถึงบาท ไหลออก
ไปจากภายนอกช่อง ที่ตนทำไว้จำเดิมแต่ภายใน เป็นปาราชิก. เมื่อน้ำมันได้
ราคาถึงบาทไหลออกไปจากภายนอกช่องข้างบน ที่ตนทำไว้โดยอาการใด ๆ ก็
ตาม เป็นปาราชิก. ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้ว่า แท้จริง น้ำมัน
นั้น ยังไม่ไหลจากภายในไปภายนอกเพียงใด, ก็ชื่อว่ายังอยู่ภายในหม้อเพียง
นั้นนั่นแล. พระวินัยธร พึงปรับ (อาบัติปาราชิก) ด้วยอำนาจน้ำมันที่ไหล
ออกจากตรงกลางกระเบื้อง แห่งช่องที่อยู่ตรงกลาง. ก็คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถา
ทั้งหลายนั้น ย่อมสมกับการทำลายคันคูของสระ ในเมื่อภิกษุกระทำช่องตั้งแต่
ภายในและภายนอก เว้นตรงกลางไว้. แต่เมื่อภิกษุกระทำช่องจำเดิมแต่ภายใน
แล้ว พระวินัยธรควรปรับอาบัติด้วยช่องภายนอก, เมื่อทำช่องจำเดิมแต่ภาย
นอกแล้ว ควรปรับด้วยช่องภายใน ; คำที่ท่านกล่าวไว้ในช่องที่กำหนดด้วย
ตรงกลางนี้ ดังพรรณนามานี้ ใช้ได้.

ก็ภิกษุใด นำออกซึ่งเชิงรองหรือก้อนเส้าแห่งหม้อ ด้วยไถยจิตว่า
หม้อจักกลิ้งไป เมื่อหม้อกลิ้งไป เป็นปาราชิก. อนึ่ง เมื่อภิกษุรู้ความที่เขาจะ
รินน้ำมันใส่ ทำความร้าวหรือช่องแห่งหม้อเปล่าไว้เป็นภัณฑไทย โดยประมาณ
แห่งน้ำมันที่รั่วออกในภายหลัง. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย บางแห่งท่านเขียน
ไว้ว่า เป็นปาราชิก ดังนี้ก็มี. นั่นเขียนไว้ด้วยความพลั้งพลาด. ภิกษุทำไม้
หรือหินให้เป็นอันตนผูกไว้ไม่ดี หรือตั้งไม้หรือหินให้เป็นของอันตนตั้งไว้ไม่ดี
ในเบื้องบนแห่งหม้อเต็ม ด้วยไถยจิตว่า มันจักตกไปทำลาย น้ำมันจักไหล
ออกจากหม้อนั้น. ไม้หรือหินนั้น จะต้องตกอย่างแน่นอน เมื่อภิกษุทำอย่างนั้น
เป็นปาราชิกในขณะทำเสร็จ. ทำอย่างนั้น ในเบื้องบนแห่งหม้อเปล่า ไม้หรือ
หินนั้นตกไปทำลายในกาลที่หม้อนั้นเต็มในภายหลังเป็นภัณฑไทย. จริงอยู่ ใน
ฐานะเช่นนี้ยังไม่เป็นปาราชิกในเบื้องต้นทีเดียว เพราะประโยคอันภิกษุทำแล้ว
ในกาลที่ของไม่มี. แต่เป็นภัณฑไทย เพราะทำของให้เสีย. เมื่อเขาให้นำมา
ให้ ไม่ให้เขาเป็นปาราชิก เพราะการทอดธุระแห่งเจ้าของทั้งหลาย. ภิกษุ
ทำเหมืองให้ตรงด้วยไถยจิตว่า หม้อจักกลิ้งไป หรือน้ำจักยังน้ำมันให้ล้นขึ้น
หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้นก็ตาม เป็นปาราชิกในเวลาที่ทำให้ตรง. จริงอยู่
ประโยคเช่นนี้ ๆ ถึงความสงเคราะห์ได้ในบุพประโยคาวหาร. เมื่อเหมืองแห้ง
อันภิกษุทำให้ตรงไว้แล้ว น้ำไหลมาทีหลัง หม้อกลิ้งไปก็ตาม น้ำมันล้นขึ้น
ก็ตาม, เป็นภัณฑไทย. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีประโยค คือการให้เคลื่อน
จากฐาน. ลักษณะแห่งประโยค คือ การให้เคลื่อนจากฐานนั้น จักมีแจ้งใน
ของที่ตั้งอยู่ในเรือ.

[

อรรถาธิบาย คำว่า ภินฺทิตฺวา เป็นต้น

]
พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีบทว่า ตตฺเถว ภินฺทติ วา เป็นต้น
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาดังนี้ก่อน.